วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555






 คุณสมบัติของครูแนะแนว
        งานแนะแนวเป็นวิชาชีพ ซึ่งผู้ประกอบวิชานี้จำเป็นจะต้องเป็นผู้ได้รับการศึกษา ฝึกฝนอบรมมาโดยเฉพาะจึงจะสามารถทำงานแนะแนวให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับคุณสมบัติของครูแนะแนวนั้น กรมวิชาการ ได้กำหนดไว้ว่าอย่างน้อยควรจะมี 3 ประการ คือ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการแนะแนว และคุณสมบัติบางประการที่จำเป็น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
       วุฒิทางการศึกษา มีวุฒิอย่างน้อยปริญญาตรีและได้รับการศึกษาอบรมทางด้านการแนะแนวหรือจิตวิทยาโดยเฉพาะ หรือได้รับการอบรมวิชาการแนะแนวตามหลักการที่คณะกรรมการแนะแนวการศึกษาและอาชีพของกระทรวงศึกษาธิการได้วางไว้ ต้องมี ประสบการณ์ความ เป็นครูอย่างน้อย 5 ปี และไม่เคยปฏิบัติงานแนะแนวมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีและได้สอนนักเรียนมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี ในระดับชั้นการศึกษาที่ทำหน้าที่แนะแนว
   คุณสมบัติของครูแนะแนวแบ่งออกเป็น 7 ด้าน
1.ด้านบุคลิกลักษณะที่สำคัญของครูแนะแนว
                - สุขภาพ อ่อนโยน
                - มีความพร้อม และกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือนักเรียน
                - มีความมั่นคงทางอารมณ์
                - ใจกว้าง เปิดรับข้อมูลจากนักเรียน รับฟังความคิดเห็น
                - แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
                - มีความเชื่อมั่นในตนเอง สุขุม ละเอียดรอบคอบ
                - บุคลิกภาพดี ผู้อื่นรู้สึกอยากเข้าใกล้ ไว้วางใจ
  2.ด้านมนุษยสัมพันธ์
                - มีความเป็นกันเอง
                - ร่วมงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                - เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
                - ให้เกียรติและยอมรับผู้อื่น
                - เข้าใจ เอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ
                - ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                - ไวต่อความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น
                - มีศิลปะการพูดและการฟัง
   3. ด้านความเป็นผู้นำ
                - มีความเสียสละ
                - มีความรับผิดชอบ
                - มีความเป็นประชาธิปไตย
                - ใฝ่หาความรู้
                - คิดริเริ่ม
                - กล้าแสดงความคิดเห็น
                - สื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                - ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   4. ด้านคุณธรรมและความประพฤติ
                - ซื่อสัตย์ สุจริต
                - ยุติธรรม
                - รักษาความลับ
                - มีหลักการและอุดมคติ
                - มีคุณธรรมและจริยธรรม
                - ยึดหลักความถูกต้อง
                - เป็นแบบอย่างที่ดีงาม
   5. ด้านการดำเนินชีวิต
                - มีความพึงพอใจในตนเอง ครอบครัว และอาชีพ
                - มีความรู้ความเข้าใจในงาน
                - เป็นผู้ทันเหตุการณ์
                - มีความยืดหยุ่น
  6. ด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว (การสอน)
                - รู้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลระบบการศึกษา และอาชีพ
                - รู้กลวิธีการแนะแนว (เช่น กิจกรรมกลุ่ม)
                - รู้ด้านจิตวิทยา
                - มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และการทดสอบ
                - รู้จรรยาบรรณ และหน้าที่ชองครู
  7. ด้านทักษะการแนะแนว
                - ทักษะในการเก็บข้อมูลรายบุคคล การใช้เครื่องมือต่างๆ
                - การบริการสนเทศ การจัดหาข่าวสาร การถ่ายทอดข่าวสาร
                - การให้คำปรึกษา
                - การจัดวางตัวบุคคล
                - การประเมินผล และติดตามผล
                - การประชาสัมพันธ์
จรรยาบรรณวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนว
               -ให้บริการด้วยความเต็มใจโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
               -ยอมรับและศรัทธาในวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนวและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร
               -เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ผู้รับบริการ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยเสมอหน้า
               -มีวิสัยทัศน์และพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
               -ปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนว
               -รักษามาตรฐานและรับผิดชอบต่อการประกอบวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนว
7               -ยุติการให้บริการที่นอกเหนือความสามารถของตนและส่งต่อไปยังบุคคลที่เหมาะสม
 .               -รักษาความลับขอผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง
                 -เคารพสิทธิและไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้รับบริการ
   ลักษณะของครูแนะแนวยุคใหม่
       - คิดเชิงสร้างสรรค์และเรียนรู้ต่อเนื่อง
            - คิดเชิงธุรกิจและทำงานเชิงรุก
            -สามารถสร้างเครือข่ายการทำงาน
            - ทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์วัดผลงานได้ชัดเจน
             -ทำงานอย่างมืออาชีพ
             - และเป็นผู้ปฏิบัติที่ทรงความรู้(knowledge worker)
             -ทำงานด้วย
              -ความรับผิดชอบและโปร่งใส
              -มีทักษะหลายด้าน
             -มีจริยธรรมและ จรรยาบรรณในวิชาชีพ
              -มีความสามารถ
              -ในการทำงานเป็นทีมคุณสมบัติของครูแนะแนว




บริการสารสนเทศ
        บริการสารสนเทศ (Information service) เป็นการบริการที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ความรู้ รายละเอียด และข้อเท็จจริงในด้านต่างๆ แก่นักเรียน นอกเหนือไปจากวิชาสามัญที่เรียนตามหลักสูตร นักเรียนจะได้ใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาเลือกตัดสินใจ วางโครงการศึกษา อาชีพ และวางแนวดำเนินชีวิต ทำให้สามารถปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และสภาพการณ์ต่างๆ ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น




ข้อสนเทศต่างๆ แบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.ข้อสนเทศทางการศึกษา
2.ข้อสนเทศทางด้านอาชีพ
3.ข้อสนเทศทางด้านส่วนตัวและสังคม




จุดมุ่งหมายของบริการสารสนเทศ

1.เพื่อสร้างความสนใจให้เกิดขึ้นแก่เด็กในด้านโลกแห่งการทำงานและในกิจกรรมต่าง ๆ
2.เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้พินิจพิจารณาอย่างละเอียดในโอกาสต่างๆ ทางการศึกษาและทางอาชีพที่เปิดให้เขาเลือกได้
3.เพื่อจัดประสบการณ์และบรรยากาศเหมาะสมให้กับเด็กเพื่อสร้างเจตคติที่ถูกต้องต่องานทุกอย่างที่มีประโยชน์ต่ออาชีพได้      
4.ช่วยให้เด็กได้ตัดสินใจอย่างฉลาดเกี่ยวกับประสบการณ์ทางการศึกษา เพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองในอนาคต
5.จัดให้ประสบการณ์ที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการศึกษาทั้งหมด
6.ช่วยส่งเสริมความเข้าใจในตนเองของเด็กซึ่งจะนำไปสู่การเข้าใจ และเห็นคุณค่าในบุคคลอื่นได้ดีขึ้น
        



        การจัดบริการสนเทศนั้นให้ประโยชน์ทั้งตัวนักเรียน ครู และผู้ปกครอง กิจกรรมที่จัดในบริการสนเทศมีมากมาย เช่น การจัดปฐมนิเทศ ปัจฉิมนิเทศ การเชิญวิทยากร การจัดนิทรรศการ การจัดวันงานอาชีพ และวันงานอดิเรก การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การจัดกิจกรรมประจำชั้น แหล่งสนเทศ หรือสถานที่ที่เราจะไปหาข้อมูล มีหลายแห่ง เช่น สถาบันศึกษาต่างๆ ศูนย์แนะแนวการศึกษาและอาชีพ ศูนย์สุขวิทยาจิต สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา เป็นต้น แหล่งต่างๆ เหล่านี้จะมีทั้งสิ่งตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร รายงานการประชุม เป็นต้น และสิ่งที่ไม่ตีพิมพ์ เช่น ภาพถ่าย ภาพจำลอง ภาพสไลด์ หุ่นจำลอง ของจริง เป็นต้น 

         









ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแนะแนว






                        - อินเตอร์เน็ท (internet)
                       - จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)
                       - เว็บไซต์ (website)
                       - แผ่นภาพเลื่อน (PowerPoint)
                       - การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
                       - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)
         คุณลักษณะของสารสนเทศทางการแนะแนวที่ดี
                        - ความถูกต้อง (accuracy)
                        - ทันเวลาใช้ (timeliness)
                        - ความสมบูรณ์ (completeness)
                       - ความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance)
                        - ตรวจสอบได้ (verifiability) 









        







การวิจัยและติดตามผล

           ครูแนะแนวทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่จะผลิตความรู้ในการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและใช้ความรู้พื้นฐานด้านจิตวิทยาที่ผู้อื่นค้นพบ ไปจัดบริการแนะแนวแบบต่างๆ ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดความสำคัญของการวิจัยในงานแนะแนว 
การวิจัยเป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความจริงอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจช่วยในการแก้ปัญหา ปรับปรุงพัฒนางานหรือบุคคล การวิจัยจึงเป็นหนึ่งในวิธีการติดตามผลอย่าง   มีประสิทธิภาพ  และได้ข้อมูลน่าเชื่อถือ ที่จะใช้ประโยชน์ได้
แก่ผู้รับบริการ ทำให้ครูแนะแนวต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิตงานวิจัยด้วยตนเองและใช้ผลงานวิจัยทั้งของตนเองและของผู้อื่นเป็น จึงจะได้ความรู้ทันการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยและบุคคล นับได้ว่าการวิจัยเป็นส่วนสำคัญใน การพัฒนางานแนะแนวทุกบริการทุกระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง

การบริการติดตามผล
           
การติดตามผลและการวิจัย(Follow – up and research) เป็นการศึกษาหรือติดตามผล เพื่อช่ายให้โรงเรียนได้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและบริการแนะแนวที่โรงเรียนให้แก่เด็กได้ผลเป็นอย่างไร สามารถประเมินผลงานที่ได้กระทำไปแล้วว่าสามารถช่วยให้เด็กได้พัฒนาขึ้นในด้านต่างๆเพียงใด เช่น อาจพบว่าเด็กตัดสินใจเลือกการเรียนผิด ก็อาจช่วยแก้ไขได้ทันท่วงที การติดตามผลจะช่วยให้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้ถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่อง อันควรปรับปรุงส่งเสริมในบริการแนะแนว และได้ข้อคิดแนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไปให้ถูกกต้อง และบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้ดีขึ้น


การติดตามผลและการวิจัยในกิจการแนะแนวอาจจำแนกออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. การติดตามผลและการวิจัยนักเรีนผู้ได้รับการแนะแนว เมื่อได้มีการแนะแนวไปแล้ว ครุและผู้แนะแนวควรต้องคิดตามเพื่อทราบผลของการแนะแนว เพื่อประโยชน์ต่อไปนี้

· เพื่อตรวจสอบดูว่านีกเรียนได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้จากการแนะแนวหรือไม่เพียงไร และผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
·เพื่อรวบนรวมข้อมูลอันอาจเป็นประโยชน์ต่อการให้คำปรึกษาแนะแนวในโอกาสต่อไป และบันทึกเข้าระเบียนสะสม
· เพื่อช่วยให้การให้คำปรึกษาหรือการแนะแนวได้เป็นไปอย่างถูกต้องและได้ผลดี
2. การติกตามผลและการวิจัยนักเรีนยบางคนหรือบางประเภทเป็นกรณีพิเศษ เช่น ผู้ที่มีภาวะผิดปกติทางจิต   จนต้องมีการรักษาพยาบาลโดยจิตแพทย์ เพื่อจะได้ประเมินดูว่า การบำบะดนั้นมีผลดีต่อนักเรียนเพียงใด ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติต่อไปได้ถูกต้อง เหมาะสมยิ่งขึ้น
3.การติดตามผลและการวิจัยนักเรียนที่อยู่ในชั้นหรือระดับการศึกษาที่สูง เช่น เด็กที่เลื่อนจากชั้น ม.3 ไปชั้น ม.4 หรือจากระดับการศึกษาที่สูงขึ้น จากระดับมัธยมศึกษาไประดับวิทยาลัย หรืออุดมศึกษา เพื่อจะได้ศึกษาพัฒนาการของนักเรียนโดยติดต่อกัน เป็นการช่วยให้รู้จักนักเรียนเป็นอย่างดี และจะได้ทราบผลและประสิทธิภาพของหลักสูตร วิธีสอน ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆใน โรงเรียน เพื่อจะได้พิจาณาปรับปรุง ส่งเสริมหลักสูตร  วิธีการสอน ตลอดจนงานแนะแนวต่าง ๆในโรงเรียนให้มีคุณค่ายิ่งขึ้นต่อพัฒนาการของนักเรียน
4.  การศึกษาติดตามผลและการวิจัยนักเรียนเก่าซึ่งออกจากโรงเรียนไปแล้ว ทั้งผู้เรียนสำเร็จตามหลักสูตร และผู้ไม่สำเร็จตามหลักสูตร เพื่อรวบรวมข้อมูลทั่วไปที่จะทำให้สามารถประเมินผลและการวิจัยของการบริการแนะแนว และงานด้ามการศึกษาทั่วไปของโรงเรียน
นักเรียนที่ควรติดตามผล
            
คือ นักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนตามปกติ นักเรียนที่มีปัญหาเป็นพิเศษ และนักเรียนที่ออกจากโรงเรียนไปแล้ว สำหรับนักเรียนเก่านี้นักเรียนถือว่าความรับผิดชอบจะไม่สิ้นสุดเมื่อนักเรียนจบการศึกษาเท่านั้น แต่โรงเรียนควรมีการติดต่อให้ความช่วยเหลือสนับสนุนต่อไปเรื่อยๆเหมือนกับนายแพทย์ที่ต้องตรวจสอบคนไข้เป็นระยะๆ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยโรคและให้การเยียวยา
                
วิธีการต่างๆ ในการติดตามผลและการวิจัย
·โดยการสัมภาษณ์สอบถามบุคคลผู้มีความสัมพันธ์ หรือมีความรู้จักคุ้นเคยใกล้ชิดกับนักเรียนที่ต้องการติดตามผล ซึ่งอาจได้แก่ บิดามารดา ผู้ปกครอง ญาติพี่น้องหรือรู้จักคุ้นเคยอื่นๆ เช่น นายจ้างที่เด็กไปทำงานอยู่ เป็นต้น
·โดยการสังเกต พิจารณาอย่างใกล้ชิด และละเอียดรอบคอบในพฤติกรรมของนักเรียนที่ต้องการติดตามผล
·โดยการสัมภาษณ์ สอบถามเด็กที่คิดว่าต้องติดตามผลโดยตรง
·โดยการทำสังคมมิติในกรณีเกี่ยวกับการปรับปรุงตนทางสังคม หรือโดยการใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ ตามแต่กรณี ทำการสอบ “ก่อน” และ “หลัง” การแนะแนว หรือปฏิบัติการใดๆ ที่กระทำต่อนักเรียนเป็นเครื่องวินิจฉัยผล
·โดยการศึกษาพิจารณารายกรณี (Case study) และการประชุมปรึกษารายกรณี (Case conference) ของผู้ปฏิบัติงานและผู้เชี่ยวชาญ             ร่วมกัน
·โดยการเปิดอภิปรายทั่วไปในหมู่นักเรียนและในหมู่ครู ตลอดจนผู้ปกครองเพราะบุคคลเหล่านี้มีส่วนช่วยในการวางแผนการของโรงเรียนในขั้นต่อไปได้
·โดยการพูดวิจารณ์หรืออภิปรายของนักเรียน และผู้ที่ออกจากโรงเรียนไปแล้วตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงสิ่งบกพร่อง
·โดยการสำรวจ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถามก็ย่อมได้
· โดยทำการทดสอบวัด เช่น วัดบุคลิกภาพ วัดการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น

     ข้อมูลที่ควรติดตามเพื่อใช้ประโยชน์ ในการแนะแนวมีหลายประการคือ การศึกษาต่อ อาชีพที่ทำ ความสำเร็จทางด้านการศึกษา และอาชีพที่ทำ สิ่งที่นักเรียนเสนอแนะให้โรงเรียนทำ
     การจัดโครงการติดตามผลจะเริ่มตั้งแต่คณะกรรมการดำเนินงาน การกำหนดจุดมุ่งหมาย กำหนดขอบเขตของงาน การเตรียมอุปกรณ์ การขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น การดำเนินงานตามโครงการ ไปจนถึงการประเมินผลงานที่ได้จากการติดตามผลงานนักเรียน

 งานวิจัยเกี่ยวกับการแนะแนวในประเทศไทย


       การวิจัย เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ และเป็นขั้นตอนของการหาข้อเท็จจริง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาวิเคราะห์อย่างมีระบบ ยึดหลักการจึงสรุปเป็นข้อเท็จจริง 
ประโยชน์ของการทำวิจัย ผลงานวิจัยช่วยทำให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดบริการแนะแนวในด้านการศึกษา แนะแนวอาชีพ และแนะแนวส่วนตัวและสังคม ว่ามีความต้องการบริการในด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล บริการสนเทศ บริการให้คำปรึกษาบริการจัดวางตัวบุคคล หรือบริการติดตามแผลและการวิจัย เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายหรือแก้ปัญหาในการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน หรือทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดบริหการเกี่ยวกับการแนะแนว